การรายงานสัญญาณด้วยระบบ RST (Readability Strength Tone)
R (Readability) ความชัดเจนในการรับฟัง มี 5 ระดับ
1.
ไม่ได้เลย
2.
ไม่ค่อยดี
3.
พอใช้
4.
ดี
5.
ดีเยี่ยม
S (Signal Strength) ความแรงของสัญญาณ มี 9 ระดับ
1.
อ่อนมากจนรับแทบไม่ได้
2.
อ่อนมาก
3.
อ่อน
4.
พอใช้
5.
ดีพอใช้
6.
ดี
7.
แรงปานกลาง
8.
แรงดี
9.
แรงดีมาก
T (Tone) ความแจ่มใสของสัญญาณเสียงมี 9 ระดับ
1.
เสียงพร่ามากมีคลื่นความถี่ต่ำผสมมาด้วย
2.
เสียงพร่ามาก
3.
เสียงพร่าเหมือนใช้แรงดันไฟที่ไม่มีการกรองให้เรียบ
4.
เสียงพร่าและยังกระเพื่อมอยู่
5.
เสียงยังกระเพื่อมอยู่มาก
6.
เสียงยังกระเพื่อมเล็กน้อย
7.
เกือบดียังกระเพื่อมอยู่บ้าง
8.
เกือบดีแล้ว
9.
ดีมากไม่มีตำหนิ
เนื่องจากในการติดต่อระบบวิทยุโทรทัศน์ไม่มีสัญญาณวิทยุโทรเลข (สัญญาณมอร์ส) จึงตัดตัว T ทิ้งไป เรียกว่า ระบบ RS และนิยมดูค่า S จากเข็มของ S-METER ของเครื่องรับวิทยุซึ่งจะมีเสกลเซียลจาก 1-9 ส่วนที่เกินจาก 9 ก็จะแสดงเป็นค่า dB เช่น +10dB, +20dB เป้นต้น
ตัวอย่าง
รายงานสัญญาณในระบบ RS เป็น 59 หมายความว่า
รับฟังข้อความได้ดีเยี่ยมและมีความแรง สัญญาณดีมาก
รายงานสัญญาณในระบบ RS เป็น 35 หมายความว่า รับฟังข้อความได้แต่ด้วยความลำบากมาก และมีความแรงขอสัญญาณดีพอใช้
รายงานสัญญาณในระบบ RS เป็น 59 +20dB แสดงว่าเข็มของมิเตอร์ขึ้นสูงกว่าเลข
9 โดยอยู่ ที่ตำแหน่ง 20 dB
จากคู่มืออบรมพนักงานวิทยุสมัครเล่นหน้าที่ 139
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น